พื้นที่สาธารณะสร้างเมืองน่าอยู่
Photo by thehighline.org
อแมนด้า เบอร์ด้า
URBAN PRINCESS | Amanda Burden in her office near New York's City Hall, surrounded by renderings of her projects.
PHOTOGRAPH BY SEAN DONNOLA
รองลงมา คือ มีที่จอดรถยนต์ได้จำนวนหนึ่งอีกด้วย เป็นที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย มีความสะอาด มีที่นั่งสบายๆ ให้ลงนั่งพักผ่อนแล้วได้ชื่นชมกับต้นไม้ใบหญ้ารอบกาย ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานที่บางครั้งผู้มีหน้าที่จัดทำพื้นที่สาธารณะลืมเลือนไป หรือบางครั้งก็มีกิจกรรมเสริมให้มีชีวิตชีวาแต่ไม่เป็นการรบกวนการพักผ่อน ทั้งเป็นที่ให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กันในชุมชนอีกด้วย
อแมนด้า เบอร์เด้น นักวางผังเมือง ชาวอเมริกัน ได้พูดถึงพื้นที่สาธารณะว่า....เมื่อคนนึกถึงเมือง สิ่งที่คิดถึงก็ คือ ตึกระฟ้า อาคารต่างๆ ถนน และการจราจรที่หนาแน่น เต็มไปด้วยเสียงดังรบกวน แต่สำหรับเธอกลับคิดว่านั้นเกี่ยวกับคนที่อยู่อาศัยในเมือง คนที่เดินทางไป ได้พบปะกัน นั้นต่างหากที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เมืองน่าสนใจ และสิ่งที่สำคัญกว่าตึกรามทั้งหลาย นั้นคือ พื้นที่ว่างระหว่างตึก ซึ่งจะทำให้มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างได้มากหากพื้นที่เหล่านั้นได้เป็นพื้นที่สาธารณะ
เธอเชื่อว่าพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิตชีวา ที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ได้ด้วยใจที่เบิกบาน นั้นเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนผังเมือง เพราะทำให้เมืองมีชีวิตชีวา แล้วอะไรจะทำให้พื้นที่สาธารณะนั้นใช้การได้ อะไรที่จะดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังพื้นที่สาธารณะ หากเธอสามารถหาคำตอบนี้ได้ เธอคงช่วยเมืองของเธอได้อย่างมาก เธอจึงศึกษาพฤติกรรมของผู้คนที่มาใช้พื้นที่สาธารณะในเมือง
แพลีย์พาร์ท
Photo by en.wikipedia.org/
แห่งแรกที่เธอทำการศึกษา คือ สวนแพลีย์ หรือ แพลีย์พาร์ค สวนสาธารณะเล็กๆ ซึ่งอยู่บริเวณกลางใจเมืองแมนฮัตตัน พื้นที่เล็กๆ นี้ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลกระทบอย่างลึกซึ่งต่อคนนิวยอร์ก เป็นเรื่องที่เธอประทับใจมาก จึงเริ่มศึกษาเมื่อเธอเพิ่งทำงานใหม่ๆ เพราะว่าพ่อบุญธรรมของเธอเป็นคนสร้างสวนแห่งนี้ ทำให้เธอทราบว่า สวนแพลีย์นั้นไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ เธอเห็นกับตาว่ามันต้องอาศัยการทุ่มเทอย่างหนัก ด้วยความเอาใจใส่ในรายละเอียดอย่างสุดๆ และพื้นที่นี้มีความพิเศษอย่างไรจึงสามารถดึงดูดผู้คนให้เดินเข้ามา เธอพิสูจน์ให้รู้ด้วยการเข้าไปนั่งในสวน และเฝ้าสังเกตอย่างตั้งใจ หนึ่งในหลายปัจจัย คือ เก้าอี้ที่นั่งสบายและสามารถเคลื่อนย้ายได้ คนจะเดินเข้ามา หาที่นั่งของตัวเอง เลื่อนเก้าอี้ไปมาเล็กน้อย จากนั้น ก็จะนั่งอยู่สักครู่ และที่น่าสนใจคือ คนพวกนี้แหละจะดึงดูดคนอื่นๆ ให้เข้ามา และเธอบอกว่าเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เธอรู้สึกสงบมาก แม้จะมีคนเดินไปมารอบตัวเธอ ความเขียวขจีและร่มรื่นของสวนสาธารณะขนาดเล็กแห่งนี้ คือสิ่งที่คนนิวยอร์กต้องการ พวกเขาต้องการความผ่อนคลาย ความเขียวของต้นไม้ใบหญ้า
Photo by ny.curbed.com
แต่การให้พื้นที่แม้จะขนาดเล็กที่เมืองที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจถึงขีดสุดจึงเป็นเรื่องยาก คนในเมืองจะคุ้นตากับลานพลาซ่า ที่ปูลาดด้วยวัสดุแข็งๆ ทั้งหมด แล้วกำจัดต้นไม้ออกไป มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าทันสมัย แต่ผู้คนก็ได้แต่เดินผ่านไป ไม่ที่ที่จะหย่อนกายนั่งสบายๆ อย่างมากก็เพียงงานศิลปะ 1-2 ชิ้นที่ตั้งประดับอยู่ ซึ่งก็สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของโครงการ เพราะไม่ต้องบำรุงรักษามาก แล้วยังไม่มีคนมานั่งแช่ให้ต้องกังวลอีกด้วย แต่คิดบ้างหรือไม่ว่าเป็นอะไรที่สูญเสียเปล่าๆ
เธอบอกว่าที่เธอเป็นนักวางผังเมือง ก็เพราะต้องการเปลี่ยนแปลงเมือง เมืองที่เธออาศัยอยู่ เมืองที่เธอรัก เธอต้องการรังสรรค์สถานที่ ที่จะทำให้รู้สึกอย่างที่ได้จากสวนแพลีย์ แต่ในช่วงหลายปีผ่านไป เธอทราบว่าเป็นเรื่องยากที่จะสร้างพื้นที่สาธารณะที่ประสบความสำเร็จ ที่ทำให้ผู้คนได้รับความเพลิดเพลิน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่เช่นนิวยอร์ก ที่ต้องต่อสู้ให้ได้มาซึ่งพื้นที่สาธารณะ และยังต้องต่อสู้เพื่อให้พื้นที่ประสบความสำเร็จ โดยต้องคิดให้ทะลุในเรื่องรายละเอียดทุกอย่าง
Battery Park
Cr.https://www.thepinnaclelist.com/
พื้นที่ว่าง โล่ง ในเมืองใหญ่มันเป็นโอกาสสำหรับการลงทุนเชิงพาณิชย์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสสำหรับ ผลประโยชน์ร่วมของเมืองด้วย แต่เป้าหมายของโอกาสทั้งสองนี้ ไม่สอดคล้องกันเสมอไป และจุดนี้เองที่เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง ครั้งแรกที่เธอต้องสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่สาธารณะ ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ตอนที่เป็นหัวหน้าทีมนักวางผังเมือง คือ บริเวณบ่อขยะขนาดยักษ์ที่ชื่อ แบตเตอรี่พาร์คซิตี้ บริเวณแมตฮัตตันตอนล่าง บนแม่น้ำฮัดสัน ผืนที่เต็มไปด้วยทรายนี้ถูกทิ้งร้างให้โล่ง เตียน มา 10 ปีแล้ว เธอได้รับคำบอกเล่าว่า หากหาคนมาพัฒนาไม่ได้ ภายใน 6 เดือน โครงการนี้จะล้มเลิก เธอก็เลยคิดไอเดียหนึ่งขึ้นมา ที่แตกต่างสุดขั้ว แทนที่จะสร้างสวนสาธารณะ เพื่อเติมเต็มทั้งโครงการที่จะพัฒนาในอนาคต เธอกลับคิดสร้างพื้นที่เปิดโล่งขนาดเล็กที่มีคุณภาพ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นโครงการริมแม่น้ำ มีความยาว 1 ไมล์ และเธอได้ลงในรายละเอียดที่สร้างความแตกต่างให้ชาวเมืองได้มาใช้พื้นสวนสาธารณะด้วยความพึงพอใจ
อีก 20 ปีต่อมา เธอได้เป็นกรรมาธิการการด้านผังเมือง เธอรับผิดชอบในการกำหนดรูปแบบ เมืองนิวยอร์กทั้งเมือง โดยนิวยอร์กได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตจากเมืองที่มีประชากร 8 ล้าน เป็น 9 ล้านคน เพื่อจะตอบโจทย์ว่า "จะเอา คนอีก 1 ล้านที่เพิ่มขึ้นมาไปไว้ตรงไหน"
นิวยอร์กเป็นเมืองใหญ่ที่ ดึงดูดคนมาจากทั่วมุมโลกให้เข้ามาอยู่ในเมือง เมืองที่สร้างก็ขยายออกไปจนเต็มแล้ว และล้อมรอบไปด้วยสายน้ำรอบด้าน การจะหาที่อยู่ ให้กับคนนิวยอร์กที่เพิ่มใหม่ๆ จำนวนมากนั้นทำได้อย่างไร และหากเราไม่สามารถขยายออกได้ แล้วที่อยู่อาศัยใหม่ ๆ จะไปอยู่ตรงไหน แล้วเรื่องรถล่ะ เมืองก็ไม่สามารถรับมือ กับรถจำนวนมากกว่านี้ได้อีก
Photo by totallandscapecare.com
หากไม่สามารถขยายออกทางราบ เราต้องขยายในแนวดิ่ง และหากเราต้องขยายในแนวดิ่ง เราต้องทะยานขึ้นฟ้าในทีๆ ไม่จำเป็นต้องมีรถใช้ ซึ่งก็หมายความว่าต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ หากเราสามารถกระจายและกำหนดให้ โครงการใหม่ที่จะพัฒนา เกิดขึ้นรอบๆ ระบบขนส่งมวลชน ก็จะสามารถรับมือกับประชากรที่เพิ่มขึ้นนี้ ได้ ก็จำเป็นต้องจัดพื้นที่หรือโซนนิ่ง ใหม่ โซนนิ่งคือเครื่องมือ ในการกำหนดกฎระเบียบของนักวางผังเมือง ที่่ใช้ในการกำหนดรูปร่างของเมือง ใช้ในการกำหนดว่าโครงการใหม่ๆ จะพัฒนาได้ที่ไหน รวมทั้งห้ามมิให้พัฒนาโครงการใด และต้องขอความเห็นชอบจากชุมชน
เธอเริ่มด้วยการฟัง รับฟังนับพัน ๆ ชั่วโมง เพียงเพื่อสร้างความเชื่อใจ เพื่อให้ทราบว่าชุมชนบอกอะไร ต้องเข้าใจความเป็นไปในชุมชน มันไม่ใช่อะไรที่จะแสร้งทำได้ ทั้งเธอได้เริ่มเดินสำรวจพื้นที่ด้วยตนเอง ท่ามกลางความร้อนระอุในหน้าร้อน และความเย็นยะเยือกของหน้าหนาว ปีแล้วปีเล่า เพียงเพื่อจะเข้าใจ ความเป็นชุมชนนั้นเข้าไปในสายเลือด รู้ว่าถนนแต่ละสายเป็นอย่างไร พยายามหาหนทางว่าการทำโซนนิ่ง จะแก้ปัญหาของชุมชนได้อย่างไร จนกระสรุปเรื่องราวที่จะกำหนดได้ โดย 90% ของโครงการที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ในนิวยอร์ก จึงอยู่ในระยะที่เดินถึงซับเวย์ภายใน 10 นาที หรือพูดอีกอย่างก็คือ ไม่มีใครในตึกใหม่เหล่านี้ จำเป็นต้องมีรถใช้
Photo by ny.curbed.com
แต่การทำโซนนิ่งไม่ใช่เป้าหมายของเธอเพียงอย่างเดียว การรังสรรค์พื้นที่สาธารณะก็ยังเป็นเรื่องสำคัญในใจเสมอมา ดังนั้น ในพื้นที่ที่ทำโซนนิ่ง เพื่อโครงการพัฒนาสำคัญๆ เธอจึงมุ่งมั่นจะสร้างพื้นที่ว่าง ที่จะทำให้ชีวิตของผู้คนแตกต่าง มีการใช้สอยประโยชน์ที่ให้ความพึงพอใจ เห็นได้จากพื้นที่ติดชายทะเลที่เสื่อมโทรม ถูกทิ้งร้าง ความยาว 2 ไมล์ ในย่านกรีนพอยท์ และวิลเลียมเบิร์ก ในบรู๊กลิน ที่เข้าไม่ถึง ใช้การไม่ได้ ต่อมาที่ดินได้รับการจัดโซนนิ่งใหม่ เธอได้สร้างสรรค์สวนสาธารณะดีๆ ริมน้ำ ซึ่งได้ใช้เวลาอย่างมาก กับทุกตารางนิ้วในแบบแปลนพวกนี้ เพื่อให้แน่ใจว่า มีทางเดินที่เรียงรายด้วยต้นไม้ จากบริเวณเนินไปจนถึงริมน้ำ มีต้นไม้และพันธุ์พืชทุกหนแห่ง และแน่นอน ต้องมีที่ ๆ ผู้คนหย่อนตัวลงนั่งได้อย่างสบายใจ ด้วยแรงศรัทธา เธอได้เอาทุกอย่างที่ได้ศึกษาและเรียนรู้ ใส่ลงไปในแบบแปลนทั้งหมดนี้
หลังจากนั้น มีการเปิดตัวโครงการ ไม่น่าเชื่อเลย ผู้คนหลั่งไหลมาจากในเมือง เพื่อมาที่สวนสาธารณะเหล่านี้ สวนเหล่านี้เปลี่ยนชีวิตผู้คนที่นั่น และยังเปลี่ยนภาพลักษณ์ทั้งหมดของเมืองนิวยอร์ก ของคนนิวยอร์กอีกด้วย เธอรู้สึกประทับใจอย่างมากที่เห็นว่าผู้คนใช้เรือข้ามฟากอย่างคุ้นเคย ราวกับว่ามันอยู่ที่นี่มาเนิ่นนานแล้ว
มาถึงตอนนี้ ทั่วเมืองนิวยอร์ก มีสถานที่ ๆ มีที่นั่งส่วนตัว ที่ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นที่จอดรถ แต่ตอนนี้กลายเป็นร้านกาแฟแบบชั่วคราว ที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นเส้นทางเดินรถแถบบรอดเวย์ แต่ตอนนี้กลายเป็นที่ตั้งโต๊ะและเก้าอี้ ที่ๆ เมื่อ 12 ปีที่แล้ว ร้านกาแฟริมทางเป็นของต้องห้าม แต่ตอนนี้ ร้านกาแฟดังกล่าวมีทั่วทุกแห่งหน แต่การเรียกคืนพื้นที่เหล่านี้เพื่อใช้ในการสาธารณะไม่ใช่เรื่องง่าย และเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือการดูแลรักษาให้สวยงามน่าสบายตลอดไป
Photo by timeout.com
เดอะไฮไลน์ เป็นสวนอีกแห่งหนึ่งที่เธอต่อสู้เพื่อให้ได้มา เดอะไฮไลน์เป็นรางรถไฟยกระดับ ที่วิ่งผ่าเข้าไปในชุมชน 3 แห่ง บนเกาะแมนฮัตตันฝั่งตะวันตก และเมื่อรถไฟหยุดทำการ พื้นที่นี่ก็กลายเป็นพื้นที่ที่พืชต่างๆ เติบโตตามยถากรรม คล้ายเป็นสวนลอยฟ้า เมื่อเธอได้รับแต่งตั้ง ให้ทำการรักษา 2 ส่วนแรกของเดอะไฮไลน์ ให้รอดพ้นจากการถูกทำลาย จึงกลายเป็นงานเร่งด่วน และโครงการที่สำคัญที่สุด และแม้ว่าเดอะไฮไลน์ จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่พื้นที่นี้ก็เป็นพื้นที่สาธารณะ ที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดของเมือง คุณอาจมองเห็นสวนสาธารณะที่สวยงาม แต่ทุกคนก็ไม่เห็นเช่นนั้น มันเป็นความจริงที่ว่า ผลประโยชน์ด้านพาณิชย์ มักจะเป็นคู่ปรับกับการใช้พื้นที่สาธารณะเสมอ อาจพูดว่า "สุดยอดจริง ๆ ที่มีผู้คนกว่า 4 ล้านคน เดินทางจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อมาดูเดอะไฮไลน์" แต่นักพัฒนากลับเห็นอยู่อย่างเดียว - เขาเห็นลูกค้า ทำไมไม่รื้อต้นไม้ ผักหญ้าพวกนั้นทิ้งไป แล้วสร้างร้านค้าตลอดแนวเดอะไฮไลน์ล่ะ ไม่ดีกว่าหรือ แถมนี่ยังหมายถึงเงินก้อนโตกว่า อีกมากมายสำหรับเมืองซะอีก ถ้ามันจะกลายเป็นห้างสรรพสินค้า ไม่ใช่สวนสาธารณะ มันอาจจะหมายถึง เงินก้อนโตสำหรับเมือง แต่เราต้องมองในระยะยาว มองให้เห็นผลประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเร็วๆ นี้เอง ส่วนสุดท้ายของเดอะไฮไลน์ ส่วนสุดท้ายของโครงการ พื้นที่ได้ถูกนำไปแข่งกับโครงการพัฒนาอื่นๆ ซึ่งมีนักพัฒนาชั้นนำบางรายได้พยายามให้รื้อลง เป็นไปได้ว่าเดอะไฮไลน์ไม่สอดคล้อง กับภาพลักษณ์ความเป็นเมือง ที่เขาเห็น ซึ่งเต็มไปด้วยตึกระฟ้า หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะ โครงการนี้ขวางทางพวกเค้า แต่สำหรับเธอใช้เวลาราว 9 เดือน ในการต่อรองทุกวัน ไม่หยุด เพื่อให้ได้เซ็นสัญญา ห้ามมิให้มีการรื้อทำลายเดอะไฮไลท์ส่วนที่ 3
New York’s High Line park inspires local thinking on Belmont Bridge
Photo by afar.com
จะเห็นว่าพื้นที่สาธารณะจะประสบความสำเร็จ และเป็นที่นิยมมากแค่ไหนก็ตาม เราไม่สามารถคิดเอาเอง ว่ามันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไปพื้นที่สาธารณะ --คือสวนที่รักษาไว้ -- จำเป็นต้องมีคนคอยเฝ้าดูแลเสมอ ไม่ใช่เพื่อแค่เรียกร้องเอามา เพื่อให้สาธารณชนใช้ แต่เพื่อออกแบบพื้นที่เหล่านี้ให้กับคนที่จะใช้มัน จากนั้น ก็ดูแลรักษาให้แน่ใจว่า พื้นที่นั้นเป็นของทุกคน พื้นที่นั้นจะไม่ถูกละเมิด ไม่ถูกรุกราน ถูกปล่อยทิ้ง หรือไม่ได้รับการดูแล หากมีบทเรียนหนึ่ง ที่เธอได้เรียนรู้จากการเป็นนักวางผังเมือง นั้นก็คือ พื้นที่สาธารณะมีพลัง มันไม่ใช่แค่จำนวนคนที่เข้ามาใช้พื้นที่ แต่มันหมายถึงคนมากกว่านี้อีกมากมาย ที่รู้สึกดีกับเมืองของเขา เพียงเพราะเขารู้ว่ามีพื้นที่นี้อยู่ตรงนั้น พื้นที่สาธารณะ สามารถเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของคนในเมือง ความรู้สึกที่คนมีต่อเมือง การที่คนเลือกเมืองนี้ แต่ไม่เลือกเมืองโน้น ซึ่งพื้นที่สาธารณะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สำคัญที่สุด ว่าทำไมคนจึงเลือกจะอยู่ในเมืองที่มีสวนสาธารณะที่เขาพึงพอใจ....
อแมนด้า ได้ทิ้งท้ายในที่สุด